ฟาสต์แฟชั่น ( Fast Fashion ) ที่กำลังทำให้สิ่งแวดล้อมแย่ลงเร็วยิ่งกว่าเดิม การแต่งกาย เป็นการแสดงอัตลักษณ์ของคนเราได้ดีและเห็นชัดที่สุด ไม่ว่าคุณจะเป็นคนสไตล์ไหน ชอบอะไร การแต่งตัวนั้นจะสะท้อนความเป็นตัวคุณผ่านเสื้อผ้า การแต่งกาย และเพื่อรองรับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเหล่านี้

จึงทำให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรืออุตสาหกรรมแฟชั่น กลายเป็นอีกหนึ่งอุตสากรรมที่ใหญ่มากที่สุด อุตสาหกรรมแฟชั่น กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับผลกระทบที่มีต่อโลกใบนี้ ในขณะที่อุตสาหกรรมแฟชั่นเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมก็ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น แม้กระทั่งนักออกแบบแฟชั่นชาวอังกฤษอย่าง Phoebe English ยังบอกว่าอุตสาหกรรมนี้เป็น “อุตสาหกรรมที่ใช้แล้วทิ้งอย่างมหึมา”
การเลือกซื้อเสื้อผ้านั้นดูเผินๆ ก็เป็นเรื่องสไตล์ หรือเทสต์แฟชั่นส่วนบุคคล เพราะเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะพอใจกับเนื้อผ้า สี หรือดีไซน์แบบไหน แต่ลึกๆ แล้วมีปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นให้คนเราอยากช้อปปิ้งเสื้อผ้าใหม่ๆ นั่นก็คือ “ เสื้อตัวนี้เห็นใส่บ่อยจัง ” “ ไม่มีเสื้อผ้าจะใส่แล้ว ” และ “ ของมันต้องมี ” ประโยคยอดฮิตจากสังคมบริโภคนิยมในยุคนี้ที่ได้ยินบ่อยๆ จึงทำให้เรามีความคิดที่อยากจะเปลี่ยนหรือซื้อเสื้อผ้าใหม่อยู่เรื่อยๆ
ในสมัยก่อนมีแต่คนรวยหรือชนชั้นสูงเท่านั้นที่เข้าถึงเสื้อผ้าแฟชั่น แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ประชากรกลุ่มชนชั้นกลางมีกำลังซื้อมากขึ้น รวมถึงการนำเสนอแฟชั่นเสื้อผ้าบนรันเวย์หรือโฆษณาก็ทำให้ผู้คนอยากตามเทรนด์ ทำให้ฟาสต์แฟชั่นเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อตอบสนองความต้องการของชนชั้นกลางได้ทันเวลา โดยต้องเป็นราคาที่พวกเขาจับต้องได้เช่นกัน และด้วยความที่แฟชั่นเริ่มดูเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีหรือที่เราจะไม่บริโภค เมื่อความต้องการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
จึงทำให้การผลิตจำเป็นต้องใช้ความรวดเร็วและได้จำนวนที่มาก ( mass product ) ตามไปด้วย แน่นอนว่าการจะทำทั้งสองสิ่งให้เกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องกดต้นทุนให้ต่ำลง ทั้งคุณภาพของวัสดุและแรงงาน นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนต่อต้านฟาสต์แฟชั่น เนื่องจากถูกมองว่าเป็นสินค้าที่ไร้คุณภาพ เน้นใส่ไม่กี่ครั้งก็ทิ้งไป นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการออกแบบเพียงแค่สั้นๆ หรือถอดแบบมาจากเสื้อผ้าที่กำลังเป็นเทรนด์ในขณะนั้น ทำให้เพียงไม่กี่วัน คนทั่วไปก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์หรูหราในราคาที่ถูกได้ และการออกคอลเลกชั่นใหม่ๆ อยู่ประจำ ก็ทำให้คนอยากซื้อใหม่เรื่อยๆ เพื่อตามเทรนด์ให้ทัน
กระแสแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้อายุการใช้งานของเสื้อผ้าสั้นลงมาก โดยทั่วโลกสูญเสียเม็ดเงินราวห้าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการผลิตเสื้อผ้าออกมาแล้วไม่ได้ถูกใช้งานและระบบการรีไซเคิลเสื้อผ้าที่ล้มเหลว ระหว่างปี 2543 ถึง 2558 เป็นช่วงเวลาที่จำนวนเสื้อผ้าที่ใช้งานแล้วลดลงราวๆร้อยละ 36 อย่างในสหราชอาณาจักรเองก็มีตัวเลขว่าประชากร 1 คน มีเสื้อผ้า 115 ตัวโดยเฉลี่ย แต่มีเสื้อผ้าร้อยละ 30 จากทั้งหมดที่ไม่เคยถูกใช้งานเลย

ทุกๆ ปีมีกองเสื้อผ้ามหึมาที่มีมูลค่าราว 140 ล้านปอนด์ จากสหราชอาณาจักร ถูกนำไปทิ้งที่หลุมฝังกลบ ซึ่งเสื้อผ้าหลายตัวยังไม่เคยถูกใช้งานด้วยซ้ำ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม ( the Environmental Audit Committee ) ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า มีเสื้อผ้าแฟชั่นร้อยละ 15 กลายเป็นขยะในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต ก่อนที่จะนำไปวางจำหน่าย
หากความต้องการของกลุ่มฟาสต์แฟชั่น ยังคงเติบโตในอัตราปัจจุบัน ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวมของเสื้อผ้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,978 ล้านตันภายในปี 2593 ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนของอินเดียเกือบสองเท่าในปี 2561 นั่นหมายความว่าภายในปี 2593 อุตสาหกรรมนี้จะต้องใช้งบประมาณในการจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลกเพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกพุ่งถึง 2 องศาเซลเซียส ถึงร้อยละ 26 จากทั้งหมด
อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงประมาณ 1.2 พันล้านตันในทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่ารอยเท้าคาร์บอนของเที่ยวบินระหว่างประเทศและการขนส่งรวมกันเสียอีก นอกเหนือจากผลกระทบการผลิตสิ่งทอแล้ว ยังมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในด้านอื่น ๆ คือ การซักเสื้อผ้าและวิธีการทิ้งเสื้อผ้า ซึ่งยิ่งทำให้เราเห็นภาพชัดยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3.3 พันล้านตันในทุก ๆ ปี หรือเท่ากับร้อยละ 8 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก หากสมมติว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นประเทศ 1 ประเทศ ก็จะเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเท่าๆกับทวีปยุโรปทั้งหมด

หากเราอยากเห็นอุตสาหกรรมแฟชั่นที่สร้างสรรค์ ยั่งยืน และไม่เร่งทำลายโลกใบนี้ มีหลายวิธีที่เริ่มทำได้จากนิสัยการใช้จ่ายของเรา ก่อนที่จะซื้อของใหม่ทุกครั้ง ลองให้เวลาตัวเองดูก่อนจะซื้อให้นานพอ จนรู้ว่าชอบของชิ้นนั้นจริงๆ ไหม หรือเราสามารถแลกเปลี่ยน ซ่อม หรือนำสิ่งของเดิมมาแปลงร่างเป็นอะไรใหม่ๆ ได้บ้าง บางคนอาจจะลองติดตามกระแสการใช้ชีวิตแบบมินิมอล หรือ Mindfulness
จากแนวคิดพุทธแบบเซ็นที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการใช้ชีวิตด้วยแนวคิดแบบ ‘ น้อยแต่ดี ’ ช่วยให้เราได้ไตร่ตรองมากขึ้น มีเวลาทำสิ่งที่รัก และมีความสุขมากขึ้น เพราะสุดท้ายแล้ว การใช้จ่ายของเรานี่แหละที่มีพลังมากพอ ที่จะเป็นตัวกำหนดได้ ว่าเราต้องการเห็นโลกเติบโตไปในทิศทางใด กลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ทั่วโลกกำลังขับเคลื่อนตลาดไปในทางนี้ จากการสำรวจพบว่า 1 ใน 3 ของผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจเรื่องที่มาของเสื้อผ้า กระบวนการผลิต และต้องการแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม
เพราะฉะนั้นฟาสต์แฟชั่น ( Fast Fashion ) อาจจะเป็นกระแสที่หลายๆ คนมองข้ามถึงปัญหาที่จะตามมาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม การเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศที่อาจเพิ่มขึ้น จากอุตสาหกรรมแฟชั่นนี้ ดังนั้นเราควรเลือกซื้อเสื้อผ้าเท่าที่จำเป็น และรู้จักการประยุกต์ มิกซ์แอนด์แมตช์เสื้อผ้า ศึกษาแฟชั่นแบบผสมผสาน เพื่อลดการซื้อเสื้อผ้าใหม่ ประหยัดทั้งเงิน ทั้งช่วยโลกได้อีกด้วย
เรามาคลายเครียดกันด้วยความน่ารักของสัตว์ต่างๆกันเถอะ แล้วคุณจะลืมเรื่องเครียดไปแล้ว เพราะความสดใสของน้องๆ เราเลยอยากชวนคุณเข้ามาดู สัตว์เลี้ยงแสนซน ที่คุณจะต้องยิ้มตามไปกับความน่ารัก
เรื่องบ้างเรื่องที่คุณไม่เคยรู้ : เกมลับของสล็อตที่ไม่มีใครอยากบอก