ฟังเพลงโมสาร์ท พัฒนาสมอง

ฟังเพลงโมสาร์ท พัฒนาสมอง

เราคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าการฟังเพลงโมสาร์ทตอนท้อง จะทำให้ลูกน้อยฉลาดขึ้น แต่ความเป็นจริง บทเพลงของโมสาร์ท มีความมหัศจรรย์มากกว่านั้น นอกจากจะไพเราะแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อพัฒนาสมองกับคนทุกช่วงวัยได้เลยล่ะ มีผลวิจัยออกมามายมายเกี่ยวกับ การที่บท เพลงโมสาร์ท สามารถที่จะทำให้สมองของคนเรามันดีขึ้นได้จริงๆน่ะเหรอ แล้วมันเกิดขึ้นได้ยังไง วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ

เพลงพัฒนาสมองได้อย่างไรบ้าง มีการศึกษาวิจัยบางส่วนกล่าวถึงประโยชน์ของเสียงเพลงที่ส่งผลดีต่อสมองไว้ ดังนี้

การเรียนดนตรีทำให้ฉลาดยิ่งขึ้น

คนที่เรียนดนตรีมักเก่งวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์เมื่อมีอายุมากขึ้น เพราะการเรียนดนตรีช่วยให้สมองได้ฝึกแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ตาม จังหวะและเวลานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยหากเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่เด็กจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น เพราะอาจเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนาและก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง ยิ่งบทเรียนนั้นเข้มข้นมาก สมองก็จะยิ่งพัฒนามากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ใหญ่ก็อาจได้รับประโยชน์จากการเรียนดนตรีได้เช่นเดียวกัน เพียงแค่หมั่นใช้งานสมองส่วนความจำระยะสั้นที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความเข้าใจ และการใช้เหตุผล ก็อาจช่วยให้ระบบการเรียนรู้ในสมองเสื่อมสภาพช้าลงได้

การเล่นดนตรีช่วยเพิ่มความจำ

การเล่นดนตรีช่วยให้จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยรักษาความทรงจำให้คงอยู่เมื่อมีอายุมากขึ้นด้วย โดยการทำกิจกรรมที่ซับซ้อนอย่างการอ่านโน้ตดนตรี หรือการวางมือบนสายเครื่องดนตรี จะช่วยเพิ่มความจุของความจำระยะสั้นให้กับสมอง และเมื่อเวลาผ่านไป สมองจะเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานหลายอย่างไปพร้อมกันโดยไม่รู้สึกว่าข้อมูลล้นจนเกินไป รวมถึงช่วยให้สมองจดจำข้อมูลได้นานขึ้นด้วย นอกจากนี้ การเล่นดนตรีเป็นกลุ่มยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแยกแยะข้อมูลเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่ซับซ้อนภายในสมองอีกด้วย ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในระยะยาวได้

นอกจากนี้ มีงานวิจัยบ่งชี้อีกว่าเสียงเพลงช่วยกักเก็บความทรงจำใหม่ ๆ โดยพบว่าผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรง ทำคะแนนข้อสอบด้านความจำและการใช้เหตุผลได้ดีหลังจากเข้าเรียนเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งเป็นการค้นคว้าโดยให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างพอเหมาะโดยเปิดดนตรีคลอไปด้วย   

การตีกลองอาจช่วยบำบัดโรคอัลไซเมอร์

ปัจจุบันมีการนำเสียงกลองไปใช้ในการบำบัดโรค เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความเหนื่อยล้า และรักษาบาดแผลทางอารมณ์ ซึ่งมีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของเสียงดนตรีต่อสมอง พบว่าการตีกลองมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยเป็นผลดีต่อร่างกายและอารมณ์ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้หญิงที่มีความผิดปกติด้านการรับประทานอาหาร เด็กออทิสติก ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ผู้ที่เผชิญกับความเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง ผู้ที่มีปัญหาในการจัดการกับความเครียด หรือผู้ที่มีอาการเสพติดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นอกจากนี้ นักบำบัดโรคยังได้นำเสียงกลองไปใช้รักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมขั้นรุนแรงและผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอีกด้วย รวมทั้งมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นชี้ว่า การตีกลองช่วยให้คนที่มีสุขภาพแข็งแรงผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี

การร้องเพลงเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีอาการป่วยทางสมอง

ปกติแล้วสมองซีกขวาของคนเราจะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดแบบองค์รวม สัญชาติญาณ ศิลปะ จังหวะ หรือจินตนาการ ซึ่งความสามารถในการร้องเพลงของคนเรานั้นส่วนหนึ่งมีผลมาจากสมองซีกขวา การร้องเพลงจึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยบางราย โดยนักวิจัยพบว่าการร้องเพลงอาจมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่กำลังฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองหรือจากอาการบาดเจ็บทางสมองที่ทำให้สมองซีกซ้ายซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับคำพูดเกิดความเสียหาย โดยผู้ป่วยอาจใช้สมองซีกขวาในการเรียนรู้ที่จะพูดในสิ่งที่ตนเองคิดออกมาเป็นเพลงก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ ละทำนองเพลงทิ้ง นอกจากนี้ การร้องเพลงยังช่วยให้คนที่มีสุขภาพดีเรียนรู้เกี่ยวกับคำพูดและวลีได้เร็วขึ้นด้วยเช่นกัน

ฟังเพลงโมสาร์ท พัฒนาสมอง

งานวิจัยเกี่ยวกับเพลงของโมสาร์ท

จากการวิจัยจากกการ ที่ให้เด็กฟัง “เพลงโมซาร์ท” ขณะเรียนและทำข้อสอบปรากฎว่า มีสมาธิดีขึ้นมาก(มีบางคน ตะโกนให้เปิดเบาๆหน่อย หนวกหู อันนี้ไม่จริงเอาฮา) หากยึดถือตามทฤษฎีการเลี้ยงเด็กแบบสุดโต่งจริง ๆ แล้ว แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กทารกแนะนำไม่ให้เด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ดูโทรทัศน์เลย และเกิน 1 ขวบถึง 2 ขวบดูได้เล็กน้อย (ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน) เพราะภาพในรายการโทรทัศน์ทั่วไปจะเป็นภาพเคลื่อนไหวเร็วมาก บางภาพปรากฏในจอเพียง 1 หรือ 2 วินาทีก็เปลี่ยนไปเป็นภาพอื่น เด็กยังไม่ทันมีเวลาคิดตามและใช้จินตนาการคาดคะเนและเชื่อมโยงหรือแค่เริ่มคิดก็ต้องเปลี่ยนไปคิดอย่างอื่นตามภาพใหม่ที่ปรากฏขึ้น หรือ คิดตามไม่ทัน เชื่อมโยง คาดคะเนไม่ทัน เพราะการทำงานของสมองยังช้า ภาพก็เปลี่ยนแล้ว ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กที่ดูโทรทัศน์มากมีโอกาสเป็นเด็กสมาธิสั้นมากกว่าเด็กที่ดู โทรทัศน์น้อย

ฟังเพลงโมสาร์ท พัฒนาสมอง

ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด คือต้องไม่ให้เด็กดูรายการโทรทัศน์เลยเป็นการป้องกันที่น่าจะปลอดภัยที่สุด อันนั้นคือถ้าทำได้ก็ดี แต่ในความเป็นจริง บางครั้งเราก็อาจจะต้องการเวลาในการทำธุระส่วนตัว หรือทำงานอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปล่อยเด็กไว้กับโทรทัศน์บ้างบางเวลา และภาพในจอก็ไม่จำเป็นต้องเป็นรายการโทรทัศน์ทั่วไปที่ผลิตมาเพื่อผู้ใหญ่ ซึ่งยังไงก็ไม่เหมาะกับเด็ก และโดยทั่วไป เด็กทารกก็ดูเหมือนจะสนใจภาพในจอโทรทัศน์กันทุกคนอยู่แล้ว  ฟังเพลงโมสาร์ท เอฟเฟ็คต์ จึงช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น

โดยอาศัยทฤษฎีเดียวกับเหตุผลในการวิจัยพบว่า ทำไมดนตรีโมสาร์ท จึงช่วยพัฒนาสมองเด็ก ซึ่งมีเหตุผลสำคัญอยู่ข้อหนึ่งว่า ดนตรีโมสาร์ท ในซีรี่ส์ Mozart for Children ทั่วไป จะมีอัตราการซ้ำตัวโน้ตเดิมอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะ หรือเรียกว่า เป็นดนตรีที่มีแพทเทิร์น หรือรูปแบบที่แน่นอน จะเป็นชุดสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเพลง ซึ่งเมื่อทารกและเด็กเล็กฟังแล้วจะสามารถใช้ความคิดคาดคะเนได้ว่า ต่อจากนี้ไปจะได้ยินเสียงนี้ หรือโน้ตดนตรีตัวนี้อีกอย่างแน่นอนเป็นแบบแผน เมื่อเด็กคาดคะเนได้ถูกต้องครั้งแรก เด็กจะเริ่มสนุกและสมองจะเริ่มสร้างแบบแผนในการคิดให้สอดคล้องกับเพลงนั้น
และจินตนาการตามโน้ตดนตรีไปเรื่อย ๆ เป็นการดึงดูดสมาธิของเด็กให้จดจ่ออยู่กับการฟังและคิดตามเพลงไปจนจบ นี่เป็นเหตุผลหลักประการหนึ่งโดยย่อ ว่าทำไมดนตรีโมสาร์ท เอฟเฟ็คต์ จึงเหมาะและช่วยพัฒนาสมองและอารมณ์เด็กเด็กมากกว่าดนตรีประเภทอื่น ๆ (ซึ่งก็มีประโยชน์เช่นกัน และควรให้เด็กฟังดนตรีที่หลากหลายจะดีกว่าให้ฟังเพียงแนวเดียว)

ทำให้เด็กสนุก มีสมาธิ มีอารมณ์ดี มีความมั่นใจในตัวเองว่าสามารถคิดได้ตรงกับภาพที่จะเกิดขึ้นซึ่งยังมาไม่ถึง ซึ่งเมื่อภาพเหล่านี้(คือกิจกรรมอะไรก็ตามที่ทำไปพร้อมกับขนาดฟังเพลง เช่น เด็กทารกดูภาพ นักเรียนอ่านหนังสือ ทำข้อสอบ) ประกอบกับดนตรีของโมสาร์ทแล้ว จะเหมือนกับเป็นการฝึกสมองแบบยกกำลังสอง โดยไม่ทำให้เด็กต้องเสี่ยงกับโรคสมาธิสั้นจากการดูรายการโทรทัศน์ทั่วไป และทำให้การดูโทรทัศน์กลับเป็นประโยชน์มากขึ้นกว่าไม่ให้ดูอีกต่างหาก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังก็คือ อย่าให้เด็กดูโทรทัศน์ใกล้จอเกินไปและดูติดต่อกันนานเกินไป ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพทางกายภาพของสายตามากกว่าผลทางด้านสมอง ที่อธิบายมายืดยาวก็เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่บางท่านที่เพิ่งเริ่มศึกษาทฤษฎีโมสาร์ทเอฟเฟ็คต์ได้
มีข้อมูลเบื้องต้น หรือว่าบางท่านอาจจะสงสัยว่า ดนตรีโมสาร์ทดีต่อสมองเด็กมากกว่าดนตรีอื่นอย่างไร หรือแม้แต่บางท่านอาจจะได้ยินคนที่ไม่เห็นด้วยบอกว่า ทฤษฎีโมสาร์ทเอฟเฟ็คต์เป็นเรื่องไม่จริง ได้มีข้อมูลว่า ทฤษฎีโมสาร์ท เอฟเฟ็คต์ไม่ใช่เป็นสิ่งที่พูดกันเลื่อนลอย ไร้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับ แต่ตรงกันข้าม ทฤษฎีนี้สามารถอธิบายได้ในทางวิทยาศาสตร์ ใครที่ได้ลองฟังดนตรีคลาสสิคของโมสาร์ทสำหรับเด็กอย่างตั้งใจจะพบว่า สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น แม้เราคนธรรมดา ไม่ใช่นักวิจัย ก็จะสามารถจับแนวทางดังกล่าวได้ด้วยตัวเองเช่นกัน และในทางวิทยาศาสตร์ สมองของเด็ก มีความสามารถในการรับรู้ เรียนรู้และเข้าใจสิ่งใหม่ ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสได้ดีกว่าผู้ใหญ่หลายสิบเท่า เด็กจึงได้รับประโยชน์จากคุณูปการของดนตรีโมสาร์ทมากกว่าผู้ใหญ่อย่างแน่นอน

อีกผลวิจัยเกี่ยว ผลของดนตรีโมสาร์ทต่อความสามารถในการจำ ของผู้สูงอายุโดย ธิดารัตน์ คณึงเพียร และสุพิตรา เศลวัฒนะกุล ได้บทสรุปการวิจัยในครั้งนั้นว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความจจำใบหน้า การจัดเก็บสิ่งของ attention/calculation , recall ก่อนและหลังการฟังดนตรีบบำบัดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนการจจำหมายเลข repetition , verbal command ก่อนและหลังการฟังดนตรีบบำบัด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคะแนนความจำเฉลี่ย ก่อนฟังดนตรีบำบัด เท่ากับ 41.52 และคะแนนความจำเฉลี่ยหลังฟังดนตรี บำบัดเท่ากับ 46.48 ซึ่งคะแนนความจำเฉลี่ยหลัง ฟังดนตรีบำบัดสูงมากกว่าคะแนนความจำก่อนฟัง ฟังดนตรีบำบัดสูงมากกว่าคะแนนความจำก่อนฟังดนตรีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับสมติฐานที่ 1 ที่ว่าระดับความจำใน ผู้สูงอายุก่อนและหลังฟังดนตรี มีความแตกต่างกัน สามารถอภิปรายผลการวิจัยได้ว่า การฟังดนตรีบำบัด สามารถเพิ่มระดับความจำในผู้สูงอายุก่อนและหลัง ฟังดนตรีบำบัดซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อนุวัตร ลิ้มสุวรรณ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า จังหวะของเสียงของดนตรี เมโลดี้และฮาร์โมนี่ของเสียงดนตรีช่วยกระตุ้น การทพงานของเซลล์สมองได้หลายพื้นที่

และจากการศึกษาของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษพบว่าเสียงดนตรีที่ผ่านเข้าไปยังสมองมีผลช่วยในการจัดเรียงระบบการทำงานของเซลล์สมองให้สามารถที่จะจดจำสิ่งใหม่ๆ

รู้แบบนี้แล้ว ก็ลองไปหา เพลงโมสาร์ท สักเพลงฟังกันดีกว่า

อ่านบทความเพิ่มเติม : Empress Regnant
อ่านบทความเพิ่มเติม : Fish Hunter Haiba